บันทึกอนุทินครั้งที่ 16
ประจำวันอังคารที่ 28 เมษายน 2558 ( ชดเชย )
โปรเเกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล
แผน I E P
- แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
- เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอนและช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
- ด้วยการจัดสภาพแววล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ของเด็ก
- โดยระบุเวลาเริ่มต้นเเละสิ้นสุดการใช้เเผนและวิธีการประเมินผลเด็ก
- คัดเเยกเด็กพิเศษ
- ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
- ประเมินพัฒนากานเด็กเป็นระยะจะทำให้ทราบว่าต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหนในทักษะใด
- เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กทำอะไรไม่ได้
- แล้วจึงเริ่มเขียนเเผน I E P
- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามารถของเด็กในปัจจุบัน
- เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
- ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอนและคาดคะเนการสิ้นสุดของเเผน
- วิธีการประเมินผล
- ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
- ได้โอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
- ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
- ถ้าเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉย
- เป็นเเนวทางในการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
- เป็นเเนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก
- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนเเปลงไป
- เป็นเเนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
- ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
- ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคลเพื่อให้เด็กได้พัฒนาการความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
- ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
- เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็กมีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
- การรวบรวมข้อมูล คือ รายงานทางการเเพทย์ รายงานการประเมินด้านต่างๆ บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้เกี่ยวข้อง
- การจัดทำแผน คือ ประขุมผู้เกี่ยวข้อง กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น กำหนดโปรเเกรมและกิจกรรม จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
- การกำหนดจุดมุ่งหมาย คือจุดมุ่งหมายระยะสั้น เช่น ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3วันหรือ2-3สัปดาห์ / ระยะยาว คือ การกำหนดให้ชัดเจนแม้จะกว้าง
- เมื่อเเผนเสร็จสมบูรณ์ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
- นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
- แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก
- จัดเตรียมสื่อเเละจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
- ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถโดยคำนึงถึง 1.ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ 2.ตัวชี้วัดพื้นฐานเกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก 3.อิทธิพลของสิ่งเเวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการเเสดงออกของเด็ก
- โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้งหรือย่อยกว่านั้น
- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมินและเกณฑ์วัดผล
กิจกรรมสอบร้องเพลงเพื่อบำบัดเด็กพิเศษ
อยากจะบอกว่า......โอ้โฮ...คือเเค่หายใจปกติยังเพี้ยงอ่ะค่ะนี่ร้องเพลงไม่ต้องพูดถึงร้องกันหลายรอบเลยเเต่อาจารย์เเละเพื่อนๆก็ช่วยร้องอย่างเต็มที่....ประทับใจมากค่ะ.....
ฮ่าๆๆๆหาความเพราะไม่เจอ....แต่ความเพี้ยนเนี่ยเต็ม100 ตอนที่อาจารย์สอนชีทเพลงเเผ่นนี้ไม่ได้มาเรียนเข้ามาเรียนรู้ในห้องที่เดียวเลยค่ะ ผลเลยออกมาก็เลยเป็นอย่างที่เห็น |
เเสดงความยินดีด้วยนะค่ะ ทุ๊กคนนนนน |
รางวัลพิเศษที่ไม่คิดว่าจะได้ ขอบคุณค่ะ |
ถ่ายตอนปิดคอร์สรายวิชา การเรียนรวม |
การนำไปประยุกต์ใช้
อาจารย์ให้คำปรึกษาเป็นรายกลุ่ม |
- นำเอาแผนการสอนที่ได้เขียนจริงไปปรับใช้ในอนาคตสำหรับเด็กพิเศษที่ต้องการความดูเเลและทักษะประสบการณ์ที่มากกว่าเด็กปกติเพื่อให้เขาได้ใช้ชีวิตอยู่อย่างปกติสุขในสังคม
- จัดเเผนกิจกรรมที่เหมาะสมกับความบกพร่องของเด็กพิเศษ
- เป็นเเผนที่สามารถยืดหยุ่นได้และส่งเสริมทักษะทางสังคมและทักษะการใช้ชีวิตประจำวันได้
- เน้นการเเก้ไขหรรือปรับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้ดีขึ้นมีพัฒนาการความก้าวหน้าของพฤติกรรมอย่างเหมาะสม
การประเมินหลังการสอน
ประเมินตนเอง : ตั้งเเต่ที่เรียนมาชอบวิชานี้นะค่ะรู้สึกว่ามันไม่ซ้ำซากกับที่เรียนมาตลอด 3 ปี เเต่เรื่องเดิมๆทุกครั้ง พฤติกรรมของเด็กพิเศษก็น่าสนใจเด็กเเต่ละคนมีกลไกใน การคิด การเเสดงออกทางพฤติกรรมอย่างบ่งบอกประเภทของความบกพร่องได้อย่างค่อนข้างชัดเจนและน่าสนใจสำหรับความประพฤติของตนเอง ณ ขณะเรียนในการวิชานี้ถามว่าตั้งใจเรียนไหม?....ตั้งใจค่ะชอบ เเต่งกายถูกระเบียบเข้าเรียนไม่ค่อยตรงเวลาบ่อยๆฮ่าๆๆๆเเต่ก็ตามงานเเละทำงานส่งทุกครั้ง อ่อ ที่ขาดไม่ได้ขอบคุณมากนะค่ะที่ให้รางวัลเอาจริงๆหนูไม่คิดว่าจะได้หรือมีคนเห็นด้วยซ้ำเป็นชิ้นเเรกเลยที่ได้รางวัลในห้องเรียน....และอีกอย่างขอบคุณนะค่ะที่มองเห็นว่านักศึกษาทุกคนนั้นต่างกันทั้ง หน้าตา สังคม และจิตใจการเข้าหานักศึกษาแต่ละที่อาจารย์สนทนาจะมีความเเตกต่างออกไปทำให้นักศึกษารู้สึกสบายใจและผ่อนคลายมากขึ้นที่ได้เป็นตัวของตัวเองระหว่างที่พบกัน(พิมพ์เพลินไปหน่อยต้องขอโทษนะค่ะคือปกติเป็นคนไม่คอยชอบคุยเเต่ชอบพิมพ์ชอบเขียนมากกว่าฮ่าๆๆๆๆๆ )
ประเมินเพื่อน: เพื่อนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ลงด้วยดีค่ะมีทั้ง เด็กเรียน เด็กกิจกรรม นักกีฬา นักดนตรี นักรบ ในตอนเเรกพวกเราเเบ่งพรรคแบ่งพวกกันหนูไม่เข้าใจหรอกว่าเพราะอะไร เพราะไม่เคยเจอกับตัวเองเเต่เมื่อระยะเวลาได้ผ่านพ้นไปการเวลาได้ทำให้เราเห็นอะไรหลายๆอย่างด้วยตัวของเราเอง ได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง ได้เห็นได้สัมผัสในสิ่งที่เกิดขึ้น และตอนนี้ก็ได้คำตอบของคำถามที่สงสัยแล้วล่ะค่ะว่าพวกเราอยู่ร่วมกันได้ สามัคคีกัน พึ่งพาอาศัยกันได้ และอยู่ด้วยกันได้อย่างมีความสุขในความเป็นตัวตนของพวกเราเอง
ประเมินอาจารย์ : ขอบคุณอาจารย์นะค่ะที่ถ่ายทอดความรู้มาให้อย่างเต็มที่ คอยเเนะนำสิ่งที่สำคัญและจำเป็นในการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมกับเด็กพิเศษเปิดมุมมองและหัวใจให้เข้าใจในพฤติกรรมของเด็กที่เเสดง อย่างน้อยๆถ้าไม่มีใครที่จะเข้าใจเด็กพิเศษเเต่อย่างน้อยนอกจากพ่อแม่เด็กแล้วก็ยังมีครูที่คอยอยู่ข้างๆเด็กเเละพร้อมที่จะเข้าใจเเละยอมรับในสิ่งที่เขาเป็นอย่างเข้าใจเเละส่งเสริมให้เขาใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขเหมือนคนปกติทั่วไปอย่างมีคุณค่า