วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

ประจำวันอังคาร ที่ 26 เดือนมกราคม พ.ศ. 2558


ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

สิ่งที่ครูควรวินิจฉัย
การวินิจฉัยหมายถึงการตัดสินใจโดยดุจากอาการหรือสัญญานบางอย่างข้อควรคำนึงจะต้องระมัดระวังและคิดพิจารณาอย่างรอบคอบเพราะจากอาการที่เเสดงออกมานั้นอาจจะนำมาซึ่งความเข้าใจผิดได้ครู

ไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทของเด็ก

  • เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
  • ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับติดตัวเด็กตลอดไป
  • เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
ครูไม่ควรบอกพ่อเเม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ

  • เพราะพ่อแม่ของเด้กพิเศษมักจะทราบอยู่เเล้วว่าลูกของเขามีปัญหา
  • พ่อเเม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่เเล้ว
  • ครูควรพูดในความคาดหวังที่เป็นบวก
  • ครูควรรายงานว่าเด็กทำอะไรได้บ้างเท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
  • ครุช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังเเละแนวทางที่จะช่วยพัฒนาเด็ก
ครูทำอะไรบ้าง

  • ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กที่เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กใจด้านต่างๆ
  • ให้ข้อเสนอเเนะในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินหรือวินิจฉัย
  • สังเกตุเด็กอย่างมีระบบ
  • จดบันทึกพฤติกรรมของเด็กอย่างเป็นช่วงๆ
สังเกตุอย่างมีระบบ

  • ไม่มีใครสังเกตได้อย่างเป็นระบบได้ดีเท่ากับครุ
  • ครูเห็นสถานการณ์ต่างๆอย่างยาวนานเเละตลอดเวลา
  • ต่างงจากเเเพทย์และนักจิตวิทยาที่มุ่งมองเเต่ด้านปัญหา
ตัวอย่างแบบฟรอม
คัดกรองบุคลที่มีความพิเศษทางการศึกษาสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  คลิก

การตรวจสอบ

  • ทราบว่าเด็กมีพฤติกรรรมอย่างไร
  • เป็นเเนงทางสำคัญที่ทำให้ ครู พ่อเเม่ เข้าใจเด็ดดีขึ้น
  • บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
ข้อพึงระวังในการสังเกต

  • ครูต้องไวต่อความรู้สึกเเละตัดสินใจล่วงหน้าได้
  • ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างได้
  • พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ปรากฏให้เห็นเสมอไป
ประเภทของการสังเกตเเละการจดบันทึก

  1. การนับอย่างง่าย คือ นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม กี่คร้้งในเเต่ละวัน กี่ครั้งในเเต่ละชั่วโมง หรือระยะเวลาที่เกิดพฤติกรรม
  2. การบันทึกต่อเนื่อง คือ การให้รายละเอียดมากที่สุด เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่งหรือช่วงกิจกรรมหนึ่งโดยไม่ต้องเข้าไปเเนะนำช่วยเหลือ(ดีที่สุด)
  3. การบันทึกไม่ต่อเนื่อง คือ บันทึกลงบัตรเล็กๆ โดยบันทึกพฤติกรรมของเด็กสั้นๆในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
การเกิดพฤติกรรมบางอย่างบ่อยไป
  • ควรเอาใจใส่ถึงระดับของความมากน้อยของความบกพร่องมากกว่าชนิดของความบกพร่อง
  • พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทั่วไปไม่ควรจัดเป็นสิ่งปกติ
การตัดสินใจ
  • ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
  • พฤติกรรมที่เกิดขึ้นไปขัดขว้างความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่





ลั้น..ลัน...ลา...เรามาร้องเพลงกัน



 
<<<<<<เพลง ฝึกกายบริหาร>>>>>>>>


ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายเเข็งเเรง
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายเเข็งเเรง
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว


<<<<<<เพลง ผลไม้>>>>>>>


ส้มโอ แตงโม แตงไทย
ลิ้นจี่ ลำไย องุ่น พุทธา
เงาะ ฝรั่ง มังคุด
กล้วย ละมุด น้อยหน่า
ขนุน มะม่วง นานาพันธุ์


<<<<<<เพลง กินผักกัน>>>>>>>>>


กินผักกันเถอะเรา
บวบ ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว เเตงกวา
คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง โหรพา
มะเขือเทศสีดา ฟักทอง กระหล่ำปลี


<<<<<<<<<<<เพลง ดอกไม้>>>>>>>>>>


ดอกไม้ต่างพันธุ์ สวยงามสดสี
เหลือง เเดง ม่วง มี เเสด ขาว ชมพู


<<<<<<<เพลง จ้ำจี้ดอกไม้>>>>>>>>


จ่ำจี้ดอกไม้ ดอกเรือง หงอนไก่
จำปี จปา มะลิ พิกุล
กุหลาบ ชบา ชวนชื่น กระดังงา
เข็ม แก้ง ลัดดา เฟื่องฟ้า ราตรี




<<<<<<<<<<<กิจกรรมระหว่างเรียน>>>>>>>>>>>>>>>>>

คำชี้เเจง.....ให้ น.ศ วาดรูปดอกบัวที่มองเห็นในโปรเจตเตอร์ให้เหมือนที่สุด
สิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมนี้ >>>>>>>>>>>คือ การวาดภาพเหมือนเปรียบเสมือนการประเมินเด็ก วาดตามสิ่งที่เห็นโดยไม่ใส่อารมณ์หรือจิตนาการแม้กระทั่งอคติของตัวผู้สอนลงไปทำให้ภาพวาดบิดเบื้อนจากสิ่งที่มันเป็นอยู่...และสิ่งนี้หล่ะคือหัวใจหลักของการประเมินเด็ก ประเมินตามสิ่งที่เห็นประเมินตามสภาพจริงก็จะทำให้เราได้รู้จักพฤติกรรมของเด็กเพิ่มมากยิ่งขึ้น




การประยุกต์ใช้
นำไปฝึกการสังเกตโดยยึดหลักความเป็นจริงของฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้จากตัวเด็กโดยตรงเพื่อนำไปสู่แนวทางการพัฒนาและเเก้ไขพฤติกรรมที่ขัดขวางการเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้น

การประเมินหลังการสอน
ประเมินตนเอง: ตั้งใจเรียน เเต่งการสุภาพเรียบร้อย แล้วเรียนตรงเวลา ร้องเพลงยังมีผิดคีย์บ้างต่ก็สนุกดีค่ะ จะพยายามปรับปรุงเเละพัมนาตนเองไปเรื่องๆค่ะ
ปรเมินเพื่อน : ตั้งใจเรียน มาเรียนตรงเวลา เเละให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียน
ประเมินอาจารย์: สอนเนื้อหาเข้าใจง่าย เเนะนำเทคนิคการร้องเพลงที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเพลงอื่นๆได้อย่างเหมาะสม




                            

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น