วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558


           
 บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

         
 ประจำวันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2558

>>>>>> มาเตรียมวางเเผนการ เห๊อะๆๆๆๆ <<<<<<







วางแผนกันจริงจังมากกว่าเรียนกันซะอีก 5555




เป่าจนตัวบวมเท่าลุกโป่งเบยจ้า



นิดนึงแอบมาแอ๊บ...ตอนพักเหนื่อย(ปาก)



ใกล้ความจริงแล้ว...รวมตัวกันถ่ายรูปซะหน่อย แชะๆๆ



แอบมาเก๊กสวยเป็นางเอก M V ลูกโป่งงามหลาย


มา ม่ะ มาดู ว่างานของพวกเราออกมาสนุกขนาดไหน  คลิกๆจิ้มๆ

>>>>>>>>>>>>>>>>เก็บตก....ภาพบรรยากาศวันนี้<<<<<<<<<<<<<<<<<<









ไม่ต้องมีคำบรรยายใดๆสักคำให้ลึกซึ้ง
ไม่ต้องบรรยายอะไรให้สวยเลิศเลอ
ไม่ว่าอะไรมันคือเหตุผลที่ฉันนั้นรักเธอ
ให้รู้ว่ารักเธอเท่านั้นพอ

                                                                                                                             
                                                           

                                                                               





วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558


บันทึกอนุทินครั้งที่5 

ประจำวัน จันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์  พ.ศ 2558



ความรู้ที่ได้รับในวันนี้>>>>>>>>>>>
กิจกรรมต้นชั่วโมง....วาดมือ ซ้าย(ใส่ถุงมือ)-ขวา(ไม่ใส่ถุงมือ) ขออวดผลงานหน่อยค่ะ (บางทีหนูควรไปเรียนวาดรูปเพิ่มเติมก็น่าจะดีนะค่ะว่าไหม)อิอิอิ <<<<<<<<<<<









คำแนะนำเเละเเนวทางความเป็นครู






    >>>>>>>>เนื้อหาในวันนี้,...มีอะไรบ้างมาดูกัน >>>>>>>>>>>>

เรื่อง.....การสอนเด็กพิเศษเเละเด็กปกติ 





ทักษะของครูและทัศนคติ


การฝึกเพื่อเติม

  1.  อบรมระยะสั้น , สัมมนา
  2. สื่อต่างๆ

การเข้าใจภาวะปกติ

  1. เด็กมักคลายคลึกกันมากกว่าเเตกต่างกัน
  2. ครูต้องเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเด็ก
  3. รู้จักเด็กเเต่ละคน
  4. มองเด็กให้เป็น" เด็ก " 
ความพร้อมของเด็ก

  1. วุฒิภาวะ
  2. เเรงจูงใจ
  3. โอกาส
  4. เชื่อใจ
การสอนโดยบังเอิญ

  • เด็กเป็นฝ่ายเริ่มก่อน
  • เด็กเข้ามาหาครูมากเท่าไหร่ยิ่งมีโอกาสสอนมากเท่านั้น
อุปกรณ์

  1. มีลักษณะง่าย
  2. ใช้ประโยชนืได้หลายอย่าง
  3. เด็กพิเศษเรียนรุ้จากการสังเกต
  4. เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ
ตารางประจำวัน

  • เด็กพิเศษไม่ยอมรับการเปลี่ยนเเปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ
  • กิจกรรมต้องเป็นลำดับเเละทำนายได้
  • เด็กจะต้องรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
  • คำนึงถงความเหมาะสมของเวลา
  • สลับกิจกรรม หนัก-เบา เพื่อสร้างความสมดุลในกิจกรรม
ทัศนคติของครู

  • มีความยืดหยุ่น : ในการสอน เป้าหมาย ขอบเขตความสามารถของเด็ก
  • การใช้สหวิทยาการ : ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคลในอาชีพอื่นเเละสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน


การเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้

เทคนิคการเสริมเเรงในเด็กปฐมวัย



 


  1. ครูต้องเริมเเรงทันทีเมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
  2. ครูต้องระเว้นความสนใจทันทีเมื่อเด็กมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์
  3. ครูควรให้ความนใจนานเท่าเด็กที่มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
ขั้นตอนในการเสริมเเรง
  1. สังเกตเเละกำหนดจุดมุ่งหมาย
  2. วิเคราะห์งานเเละกำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานเเต่ละชิ้น
  3. สอนจากง่ายไปยาก
  4. ให้เเรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้/เมื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
  5. ลดการบอกบท
  6. ให้เเรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคยงจุดมุ่งหมายที่สุด
  7. ทีละขั้น ไม่เร่งรัด
  8. ไม่ดุหรือตี
การเเนะนำหรือบอกบท (Prompting)

  • ย่อยงาน
  • ลำดับความยากง่ายของงาน
  • การลำดับงานเป็นการเสริมเเรงเพื่อให้เด็กค่อยๆก้าวไปสู่ความสำเร็จ
  • การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ
การประยุกต์ใช้
  1. นำเทคนิคการเสริมเเรงไปช่วยเป็นเเรงกระตุ้นให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างเป็นลำดับขั้นเเละเป็นระบบ
  2. ปรับทัศนคติของตนเองที่มีต่อเด็กพิเศษให้เหมือนเด็กปกติ
  3. ใช้จุดบกพร่องต่อเติมซึ่งกันเเละกัน(เด็กพิเศษ+เด็กปกติ)
  4. เรียลลำดับการเรียนรู้จากง่ายไปหายากตามลำดับ
ประเมินหลังการสอน
ประเมินตนเอง : วันนี้ขออนุญาติอาจารย์ออกห้องเรียนก่อนเวลาเพื่อไปทำโครงการสำรวจ-พัฒนาชุมชนซึ่งในตอนหลังก็มาได้ศึกษางานจากเพื่อนอีกที
ประเมินเพื่อน : เพื่อมีน้ำใจช่วยอธิบายเนื้อหาส่วนที่ไม่ได้เรียนให้ฟังอย่างละเอียด
ประเมินอาจารย์ : ต้นคาบอาจารย์อธิบายเนื้อหาได้อย่างชัดเจนเเละเข้าใจง่าย ยกตัวอย่างในสิ่งที่สามารถพอเจอได้จริงในชีวิตประจำวัน ท้ายคาบเรียนอาจารย์ใจดีอนุญาติให้ออกมาก่อนเวลาเลิกเรียนได้เพื่อไปทำโครงการพัฒนาชุมชน
















วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558


บันทึกอนุทินครั้งที่ 4
ปรจำวันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558

ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์สัมมนาทางวิชาการเรื่องผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาใน







<<<<< หัวข้อเรื่อง"วิกฤติหรือโอกาสการศึกษาปฐมวัยในอาเซียน">>>>>>>>>











บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

ประจำวันอังคาร ที่ 26 เดือนมกราคม พ.ศ. 2558


ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

สิ่งที่ครูควรวินิจฉัย
การวินิจฉัยหมายถึงการตัดสินใจโดยดุจากอาการหรือสัญญานบางอย่างข้อควรคำนึงจะต้องระมัดระวังและคิดพิจารณาอย่างรอบคอบเพราะจากอาการที่เเสดงออกมานั้นอาจจะนำมาซึ่งความเข้าใจผิดได้ครู

ไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทของเด็ก

  • เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
  • ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับติดตัวเด็กตลอดไป
  • เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
ครูไม่ควรบอกพ่อเเม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ

  • เพราะพ่อแม่ของเด้กพิเศษมักจะทราบอยู่เเล้วว่าลูกของเขามีปัญหา
  • พ่อเเม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่เเล้ว
  • ครูควรพูดในความคาดหวังที่เป็นบวก
  • ครูควรรายงานว่าเด็กทำอะไรได้บ้างเท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
  • ครุช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังเเละแนวทางที่จะช่วยพัฒนาเด็ก
ครูทำอะไรบ้าง

  • ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กที่เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กใจด้านต่างๆ
  • ให้ข้อเสนอเเนะในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินหรือวินิจฉัย
  • สังเกตุเด็กอย่างมีระบบ
  • จดบันทึกพฤติกรรมของเด็กอย่างเป็นช่วงๆ
สังเกตุอย่างมีระบบ

  • ไม่มีใครสังเกตได้อย่างเป็นระบบได้ดีเท่ากับครุ
  • ครูเห็นสถานการณ์ต่างๆอย่างยาวนานเเละตลอดเวลา
  • ต่างงจากเเเพทย์และนักจิตวิทยาที่มุ่งมองเเต่ด้านปัญหา
ตัวอย่างแบบฟรอม
คัดกรองบุคลที่มีความพิเศษทางการศึกษาสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  คลิก

การตรวจสอบ

  • ทราบว่าเด็กมีพฤติกรรรมอย่างไร
  • เป็นเเนงทางสำคัญที่ทำให้ ครู พ่อเเม่ เข้าใจเด็ดดีขึ้น
  • บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
ข้อพึงระวังในการสังเกต

  • ครูต้องไวต่อความรู้สึกเเละตัดสินใจล่วงหน้าได้
  • ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างได้
  • พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ปรากฏให้เห็นเสมอไป
ประเภทของการสังเกตเเละการจดบันทึก

  1. การนับอย่างง่าย คือ นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม กี่คร้้งในเเต่ละวัน กี่ครั้งในเเต่ละชั่วโมง หรือระยะเวลาที่เกิดพฤติกรรม
  2. การบันทึกต่อเนื่อง คือ การให้รายละเอียดมากที่สุด เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่งหรือช่วงกิจกรรมหนึ่งโดยไม่ต้องเข้าไปเเนะนำช่วยเหลือ(ดีที่สุด)
  3. การบันทึกไม่ต่อเนื่อง คือ บันทึกลงบัตรเล็กๆ โดยบันทึกพฤติกรรมของเด็กสั้นๆในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
การเกิดพฤติกรรมบางอย่างบ่อยไป
  • ควรเอาใจใส่ถึงระดับของความมากน้อยของความบกพร่องมากกว่าชนิดของความบกพร่อง
  • พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทั่วไปไม่ควรจัดเป็นสิ่งปกติ
การตัดสินใจ
  • ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
  • พฤติกรรมที่เกิดขึ้นไปขัดขว้างความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่





ลั้น..ลัน...ลา...เรามาร้องเพลงกัน



 
<<<<<<เพลง ฝึกกายบริหาร>>>>>>>>


ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายเเข็งเเรง
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายเเข็งเเรง
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว


<<<<<<เพลง ผลไม้>>>>>>>


ส้มโอ แตงโม แตงไทย
ลิ้นจี่ ลำไย องุ่น พุทธา
เงาะ ฝรั่ง มังคุด
กล้วย ละมุด น้อยหน่า
ขนุน มะม่วง นานาพันธุ์


<<<<<<เพลง กินผักกัน>>>>>>>>>


กินผักกันเถอะเรา
บวบ ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว เเตงกวา
คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง โหรพา
มะเขือเทศสีดา ฟักทอง กระหล่ำปลี


<<<<<<<<<<<เพลง ดอกไม้>>>>>>>>>>


ดอกไม้ต่างพันธุ์ สวยงามสดสี
เหลือง เเดง ม่วง มี เเสด ขาว ชมพู


<<<<<<<เพลง จ้ำจี้ดอกไม้>>>>>>>>


จ่ำจี้ดอกไม้ ดอกเรือง หงอนไก่
จำปี จปา มะลิ พิกุล
กุหลาบ ชบา ชวนชื่น กระดังงา
เข็ม แก้ง ลัดดา เฟื่องฟ้า ราตรี




<<<<<<<<<<<กิจกรรมระหว่างเรียน>>>>>>>>>>>>>>>>>

คำชี้เเจง.....ให้ น.ศ วาดรูปดอกบัวที่มองเห็นในโปรเจตเตอร์ให้เหมือนที่สุด
สิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมนี้ >>>>>>>>>>>คือ การวาดภาพเหมือนเปรียบเสมือนการประเมินเด็ก วาดตามสิ่งที่เห็นโดยไม่ใส่อารมณ์หรือจิตนาการแม้กระทั่งอคติของตัวผู้สอนลงไปทำให้ภาพวาดบิดเบื้อนจากสิ่งที่มันเป็นอยู่...และสิ่งนี้หล่ะคือหัวใจหลักของการประเมินเด็ก ประเมินตามสิ่งที่เห็นประเมินตามสภาพจริงก็จะทำให้เราได้รู้จักพฤติกรรมของเด็กเพิ่มมากยิ่งขึ้น




การประยุกต์ใช้
นำไปฝึกการสังเกตโดยยึดหลักความเป็นจริงของฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้จากตัวเด็กโดยตรงเพื่อนำไปสู่แนวทางการพัฒนาและเเก้ไขพฤติกรรมที่ขัดขวางการเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้น

การประเมินหลังการสอน
ประเมินตนเอง: ตั้งใจเรียน เเต่งการสุภาพเรียบร้อย แล้วเรียนตรงเวลา ร้องเพลงยังมีผิดคีย์บ้างต่ก็สนุกดีค่ะ จะพยายามปรับปรุงเเละพัมนาตนเองไปเรื่องๆค่ะ
ปรเมินเพื่อน : ตั้งใจเรียน มาเรียนตรงเวลา เเละให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียน
ประเมินอาจารย์: สอนเนื้อหาเข้าใจง่าย เเนะนำเทคนิคการร้องเพลงที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเพลงอื่นๆได้อย่างเหมาะสม